บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บทที่4 กลุ่มสังคม

บทที่ 4
กลุ่มสังคม

                การศึกษาองค์การทางสังคม เพราะกลุ่ม หลายถึง แบบชนิดของการที่คนจำนวนหนึ่งมาอยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบ มีจุดมุ่งหมายบางอย่างร่วมกัน ตลอดจนมีการสร้างรูปแบบของพฤติกรรมร่วมกันด้วย
                ความหมาย กลุ่ม เป็นสังกัป (concept) ที่นักสังคมวิทยาให้ความหมายต่างกันออกไป คือ
                1)    หมายถึง คนจำนวนหนึ่งมาอยู่รวมกัน หรือกำลังรอคอยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 
                2)    หมายถึง คนจำนวนหนึ่งที่มีลักษณะบางอย่างเหมือนกัน
                3)    หมายถึง คนจำนวนหนึ่งซึ่งมีแบบแผนบางอย่างร่วมกัน
                4)    ความหมายที่นิยมใช้ คือ กลุ่มสังคม หมายถึง กลุ่มคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีความรู้สึกสำนึกเป็นพวกเดียวกัน และมีการกระทำโต้ตอบซึ่งกันและกัน
                5)    สรุป ความหมายของกลุ่มสังคม คือ กลุ่มคนที่มิใช่มีความใกล้ชิดกันทางร่างกายเท่านั้น แต่จะต้องมีการกระทำโต้ตอบซึ่งกันและกัน  มีการติดต่อสัมพันธ์กันตามสถานภาพและบทบาท มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีความเชื่อในด้านคุณค่าร่วมกัน หรือคล้ายคลึงกัน กลุ่มสังคม ได้แก่ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน กลุ่มอาชีพ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มประชาชนของประเทศ

ชนิดของกลุ่มสังคม
                กลุ่มแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
                1)    กลุ่มปฐมภูมิ (primary group)  เป็นกลุ่มคนที่มีขนาดเล็ก การติดต่อทางสังคมใกล้ชิดสนิทสนม
                2)    กลุ่มแบบทุติยภูมิ (secondary group) เป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ การติดต่อทางสังคมห่างเหิน ระยะสั้น
                กลุ่มแบบทุติยภูมิ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
                ก.    กลุ่มสมาคม หรือองค์การ (association)  เป็นกลุ่มที่สมาชิกมีจุดมุ่งหมายที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้บรรลุเป้าวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้
                ข.    กลุ่มชาติพันธ์ (ethnic groups)  เป็นกลุ่มคนแบบทุติยภูมิประเภทหนึ่ง  ซึ่งมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีประเพณี และวัฒนธรรมเหมือนกัน
                ค.    กลุ่มชนชั้น (social class)  เป็นกลุ่มคนแบบหนึ่ง  ซึ่งสมาชิกของชนชั้นมีบางสิ่งบางอย่างร่วมกัน
                3)    กลุ่มอ้างอิง (reference group) หมายถึง กลุ่มคนที่เป็นแบบแผนของพฤติกรรม ซึ่งปัจจุบันมีความหมายกว้างขวางมาก

                สรุป กลุ่มปฐมภูมิ  มักจะมีความหมายไปในทางที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์มากกว่าการหน้าที่ (function) คือ การติดต่อสัมพันธ์ หรือโต้ตอบซึ่งกันและกัน จะเน้นความรู้สึกส่วนตัวมากกว่า ตรงข้ามกับกลุ่มแบบทุติยภูมิซึ่งมักจะหมายถึงไปในแง่การหน้าที่ คือ การติดต่อสัมพันธ์กันนั้นให้ประโยชน์ หรือมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน ดังนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า กลุ่มปฐมภูมิเป็นกลุ่มที่สมาชิกจะต้องทำตัวให้เหมาะสมโดยดูในแง่ความรู้สึกที่สัมพันธ์กัน (relationship-oriented)  ส่วนกลุ่มแบบทุติยภูมิ เป็นกลุ่มที่สมาชิกจะต้องทำตัวให้เหมาะสม  โดยดูในแง่เป้าวัตถุประสงค์
                ในสังคมปัจจุบันมีแนวโน้มว่ากลุ่มแบบทุติยภูมิจะมีมากขึ้น  แต่ก็ยังไม่สามารถทำลายกลุ่มปฐมภูมิลงได้

กลุ่มเรา (in-group) และกลุ่มเขา (out-group)
                กลุ่มเราคือกลุ่มที่เรามีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกับเรา  กลุ่มเขาคือกลุ่มที่ไม่ใช่พวกเรา
                1)    ลักษณะสำคัญของกลุ่มเรา คือ
                        ก.  มีความรู้สึกผูกพัน และยึดเหนี่ยวระหว่างสมาชิก
                        ข.  มีความซื่อสัตย์ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
                        ค.  มีความรู้สึกเป็นมิตร
                2)    ลักษณะสำคัญของกลุ่มเขา คือ
                        ก.  มีความรู้สึกห่างเหิน หลีกเลี่ยง
                        ข.  มีความรู้สึกมุ่งร้าย ไม่ร่วมมือ
                        ค.  มีความรู้สึกเป็นศัตรู

ระยะห่างทางสังคม (social distance)
                เป็นการวัดระดับของความใกล้ชิด หรือการยอมรับ หรืออคติที่เรารู้สึกต่อคนกลุ่มอื่น
                1)    ระดับแนวราบ (horizontal social distance) เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา เพื่อน ญาติพี่น้อง หรือคนที่อยู่ในระดับเดียวกัน
                2)    ระดับแนวดิ่ง (vertical social distance) เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกนายกับลูกน้อง โดยพิจารณาในแง่สูงต่ำ
                การศึกษาเรื่องกลุ่มคน  ก็คือการศึกษาสังคมทั้งสังคมนั่นเอง เพราะศึกษาตั้งแต่ขนาดเล็กคือ ครอบครัว จนถึงขนาดใหญ่คือ ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ซึ่งการศึกษาจะศึกษาทั้งกลุ่มที่เป็นระเบียบและกลุ่มที่ขาดระเบียบ อันได้แก่ กลุ่มพฤติกรรมร่วมต่างๆ เช่น ฝูงชน มวลชน สาธารณชน ขบวนการทางสังคม เป็นต้น

HIGH SCHOOL IN NZ









วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

14 สิ่งที่สุดในชีวิต

ศัตรูที่น่าสะพรึงกลัวที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ตัวเราเอง
ความล้มเหลวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความอวดดี
การกระทำที่โง่เขลาที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การหลอกลวง
สิ่งที่แสนสาหัสที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความอิจฉาริษยา
ความผิดพลาดมหันต์ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การยอมแพ้ตัวเอง
สิ่งที่เป็นอกุศลที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การหลอกตัวเอง
สิ่งที่น่าสังเวชที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความถดถอยของตัวเอง
สิ่งที่น่าสรรเสริญที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความอุตสาหะวิริยะ
ความล้มละลายที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความสิ้นหวัง
ทรัพย์สมบัติที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ สุขภาพที่สมบูรณ์
หนี้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ หนี้บุญคุณ
ของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การให้อภัยและความเมตตากรุณา
ข้อบกพร่องที่ใหญ่หลวงที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การมองโลกในแง่ร้ายและไร้เหตุผล
สิ่งที่ทำให้อิ่มอกอิ่มใจที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การให้ทาน